พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7


EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคาร 17 กุมภาพันธ์ 2560

เนื้อหา/กิจกรรม
         วันนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ราชดำเนิน โดยที่นั่นจะมีสื่อประเภทต่างๆมากมาย รวมไปถึงหนังสือ อุปกรณ์กีฬา เครื่องดนตรี อุปกรณ์การเรียน จะมีสื่อประเภท ไม้บล็อก  จิ๊กซอ ผลไม้จำลองและอื่นๆอีกมากมาย











การประยุกต์ใช้
         สามารถนำสื่อต่างๆที่ได้เห็นไปประยุกต์ใช้ในการทำสื่อชนิดต่างๆ และได้เรียนรู้สื่อบางชนิดที่ไม่เคยเห็นาก่อน

การประเมิน
         อาจารย์: อาจารย์ได้พาออกนอกสถานที่และให้คำแนนำในการเดินทางเป็นอย่างดี
        ตนเอง: มีความสนุกสนานกับการได้นั่งเรือโดยสาร น่าตื่นเต้นในทุกเส้นทาง สื่อที่น่าสนใจในศึกษาภัณฑ์มีมากมายและหลายหลาย 
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนตื่นเต้นกับการนั่งเรือโดยสาร หลายคนก็ได้ซื้อสื่อจากศึกษาภัณฑ์มามากมาย




วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่6


EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคาร 14 กุมภาพันธ์ 2560

เนื้อหา/กิจกรรม
                 ได้มีการนำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยที่ทำบนแผ่นชาร์ทของแต่ละกลุ่ม มานำเสนอว่าแต่ละกลุ่มเลือกสื่อชิ้นไหน แล้วเพราะเหตุใด ข้อดี ข้อจำกัด ของสื่อชิ้นนั้น




เนื่องในวันนี้เป็นวันวาเลนไทน์อาจารย์สอนประดิษฐ์การ์ดป๊อบอัพ





การประยุกต์ใช้
         สามารถนำการทำการ์ดป๊อบอัพไปสอนให้เด็กๆทำในโอกาสต่างๆได้เช่น วันพ่อ วันแม่ เป็นต้น

การประเมิน
         อาจารย์: อาจารย์อธิบายได้การทำการ์ดป๊อบอัพและมีการเปิดVDOสอนทำการ์ดไปด้วย
        ตนเอง: มีความสนุกสนานกับการที่ได้ทำการ์ดร่วมกับเพื่อนๆ
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนต่างก็ตั้งใจทำการ์ดป๊อบอัพเป็นอย่างดี มีหลากหลายไอเดีย






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5



EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคาร 7 กุมพาพันธ์ 2560

เนื้อหา/กิจกรรม
                                                  กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
             การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ
 เกม (Games)
         นักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ
เกมการเล่น
1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
แนวคิดการจัดเกม
1.เกณฑ์การเลือกเกม
          1.1 ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
         1.2 เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
 2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game) หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม
  
ประเภทของเกมการศึกษา

1) เกมการจับคู่


2) เกมการจัดหมวดหมู่


3) เกมภาพตัดต่อ



4) เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง



5) เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน



6) เกมตารางสัมพันธ์


7) เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


8) เกมลอตโต



ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
1) ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมกันมาล่วงหน้า หรือถ้ามีก็ควรให้น้อยที่สุด
2) เป็นเกมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีลักษณะท้าทายความสามารถของเด็ก
3) มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
4) เป็นเกมสั้น ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที

เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน สามารถทำ ให้เด็กที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าพัฒนาการเรียนดีขึ้นช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังมีโอกาสแสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนับว่าเกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีความจำ
           อาจารย์ให้แต่ละคนนำสื่อที่ตนเองทำในใบงาน ออกมานำเสนอให้เพื่อนได้รู้ พร้อมทั้งบอกประโยชน์สื่อชิ้นนั้น จากนั้นก็มีการแบ่งกลุ่ม โดยให้ทุกคนในกลุ่มนำสื่อของแต่ละคนมาวิเคราะห์ข้อดีข้อจำกัดว่าสื่อชิ้นไหนดีที่สุด จากนั้นก็นำสื่อชิ้นที่ดีที่สุดมาเขียนลงในกระดาษชาร์ทและนำมาเสนอให้เพื่อนได้รู้ในครั้งต่อไป




การประยุกต์ใช้
         สามารถนำเทคนิคการวิเคราะห์สื่อไปใช้ในการเลือกสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยได้  ได้รูประเภทของเกมการศึกษาสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
         อาจารย์: อาจารย์อธิบายได้ละเอียด มีความชัดเจน
        ตนเอง: มีความพร้อมในการทำกิจกรรม และมีการเตรียมสื่อในส่วนของตนเองมาเป็นอย่างดี
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนต่างก็นำสื่อของตนเองมา มีความหลากหลายกันไป






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4



EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคาร 31 มกราคม 2560

เนื้อหา/กิจกรรม
    1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม
1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
   1.2.1 สิ่งพิมพ์
   1.2.2 ภาพชุด
   1.2.3 เทปโทรทัศน์
   1.2.4 เทปเสียง
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
  2.1 เครื่องเสียง
  2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
  2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
  3.1 การสาธิต    3.2 การทดลอง   3.3 เกม  3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
  3.5 การจำลองสถานการณ์   3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
  3.7 ทัศนศึกษา    3.8กิจกรรมอิสระ   3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ
ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น 
สื่อการสอนเดินได้
การเรียนการสอนนั้นบางครั้งแม้ไม่มีสื่ออยู่ในมือเลย การเรียนการสอนก็ประสบผลสำเร็จได้เพราะครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว
      1) สายตา
      2) สีหน้า
      3) น้ำเสียง
ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย
               การเล่นเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความเข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้เด็กเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นโอกาสของการฝึกฝนในเรื่องของความรับผิดชอบ ทั้งนี้ รูดอล์ฟ (Rudolph, 1984, p. 95) ได้
สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
       1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
       2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
       3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์

               เครื่องเล่นของเด็กมีความสำคัญในการพัฒนาร่างกายและจิตใจของเด็กและเยาวชน ผู้ทำหน้าที่เป็นแพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องเครื่องเล่นพอสมควรทั้งนี้เพื่อจะได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกสรรและจัดหาเครื่องเล่นให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เล่นตลอดจนหาทางช่วยส่งเสริมการผลิตเครื่องเล่นให้มากขึ้นภายในประเทศโดยทางอ้อมต่อไป
                   สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย การเลือกสื่อเราต้องเลือกแบบที่ ปลอดภัย ประหยัด มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ วิธีการเลือกสื่อคือ เลือกให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก มีความถูกต้องตามเนื้อหาและความทันสมัย มีคุณภาพดี ควรมีการเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อที่ชำรุดเพื่อให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ตามเดิม คุณสมบัติที่ดีของ ของเล่น ต้องเป็นของที่ผู้เล่นมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ช่วยฝึกการเคลื่อนไหว กระตุ้นให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มได้

การประยุกต์ใช้
                 นำหลักการต่างๆไปใช้ในการเลือกสื่อ ของเล่นให้เด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
       อาจารย์: อาจารย์อธิบายได้เข้าใจ มีการยกตัวอย่าง
      ตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังจนจบ และมีความเข้าใจในเนื้อหา
      สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนก็ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี และบางคนไม่เข้าใจก็มีการซักถาม





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3



EAED2504
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Learning Medias for Early Childhood
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันอังคาร 24 มกราคม 2560

เนื้อหา/กิจกรรม

            ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารจะส่งสารไปยังผู้รับ ซึ่งผู้รับจะรับสารได้โดยผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้ยินการสัมผัส การได้กลิ่น และการลิ้มรส โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสารก็มักจะ
นึกถึงภาษาพูดหรือเขียน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวสารคือเนื้อความหรือความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับหรืออาจจะพิจารณาว่า เป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้อหาของสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งก็ได้ ดังนั้น
เมื่อมีการกล่าวถึงลักษณะของการสื่อสาร เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรืออากัปกริยาต่าง ๆ
ความสำคัญของสื่อ
              เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วยความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็น “การเรียน”เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และได้เรียนรู้ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จดจำได้นาน
ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
 1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
 2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อมต่าง
            ดร.ชัยวงศ์  พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
                        1.  สื่อการสอนประเภทวัสดุ
                        2.  สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
                        3.  สื่อการสอนประเภทวิธีการ
สื่อการสอนประเภทวัสดุ  หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์  เป็นต้น
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์  หมายถึง  สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง กับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน
สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ
ต้องเลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของการสอน ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องให้เหมาะกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยด้วย
ลักษณะทางกาย
            เด็กปฐมวัย มีร่างกายที่แข็งแรงกว่าเด็กทารกแต่ไม่แข็งแรงเท่าเด็กประถมหรือมัธยม การเลือกใช้สื่อควรเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น แต่ไม่ควรออกแรงมากเกินไป
ลักษณะทางอารมณ์
            เด็กปฐมวัยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่รู้จักสะกดกลั้นอารมณ์ของตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม ควรหาสื่อที่เป็นรูปภาพหรือนิทานสอนใจเพื่อให้เด็กเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการสะกดกลั้นอารมณ์
ลักษณะทางสังคม
            สังคมของเด็กวัยนี้ยังอยู่ในสังคมวงแคบ เด็กเริ่มรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนแปลกหน้าจำนวนมาก สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้เด็กอยู่ร่วมกัน รู้จักความร่วมมือแก่กันและมีความรับผิดชอบร่วมกัน เช่น สื่อประเภทกระดานหก ที่ต้องใช้ผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน ถึงจะเล่นได้
ลักษณะทางสติปัญญา
ลักษณะทางสติปัญญาของเด็กวัยนี้ ส่วนใหญ่กำลังสร้างจินตนาการ
และมีความคิดหรือเหตุผลในเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรม ครูควรใช้
สื่อที่เป็นรูปธรรมชัดเจน กระตุ้นให้เด็กรู้จักจินตนาการในสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม
ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น กำลังฝึกการพูดเป็นประโยคยาว ๆ เด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง
วัยห้าขวบถึงหกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่าง ๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่
ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
            การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะด้านร่างกายและสังคม มีความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเพื่อให้เด็กได้รู้จักกฎ กติกาของการเล่น สอนให้เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุขฝึกฝนการใช้ภาษา การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริงการใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี การสอนสำหรับเด็ก ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

               สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายประเภท เช่น สื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทวิธีการ การใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะในการพัฒนาเด็กทีมีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การสอนสำหรับเด็กต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการทั้ง4ด้าน ต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ได้เองให้มากที่สุด

การประยุกต์ใช้
                    เราสามารถสอนเด็กโดยใช้สื่อสร้างสรรค์ได้ และเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองให้ได้มากที่สุดเพราะจะทำให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง4ด้านเป็นอย่างดี

การประเมิน
 อาจารย์: อาจารย์อธิบายได้ละเอียดและเข้าใจ และยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
 ตนเอง: วันนี้รู้สึกง่วงนิดหน่อย แต่ก็สามารถตั้งใจฟังจนจบได้
 สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนก็มีอาการง่วง และหลายคนก็ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี